แหล่งน้ำที่สำคัญในการผลิตน้ำดื่ม น้ำใช้

น้ำที่ใช้กับเครื่องกรองน้ำ / ระบบกรองน้ำ

        เเหล่งน้ำ คือ น้ำดิบในการมาใช้ผ่านเครื่องกรองน้ำ / ระบบกรองน้ำ ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากน้ำในแต่ละแหล่ง มีการคุณภาพและคุณสมบัติแตกต่างกันไป ทำให้การเหลื่อใช้เครื่องกรองน้ำ หรือระบบกรองน้ำ ตลอดจนสารกรองน้ำ จึงถูกกำหนดโดยแหล่งน้ำ เป็นปัจจัยต้นๆ

 

น้ำฝน คือ

เป็นเเหล่งน้ำดิบตามธรรมชาติ ที่มีการปนเปื้อนตะกอน(สารเเขวนลอย)เเละสารละลาย สารเคมี เชื้อโรค ที่เป็นอันตรายน้อยที่สุด(การกำเนิดของน้ำฝนเกิดจากการกลั้นตัวของก้อนเมฆกลายเป็นหยดน้ำตกลงมาสู่พื้นดิน)

 

น้ำบาดาล

น้ำฟ้าที่ตกลงมาสู่พื้นผิวโลกจะถูกกักเก็บ เป็นน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบและมหาสมุทรน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ดังกล่าว เรียกว่า น้ำผิวดิน น้ำผิวดินบางส่วนจะไหลซึมลงสู่ใต้ดินกลายเป็นน้ำใต้ ดิน ซึ่งแบ่งออกเป็นน้ำในดินและน้ำบาดาล กล่าวคือ น้ำผิวดินที่ไหลซึมลงสู่ใต้ดินส่วนแรกจะไหลซึมอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ด ดิน เรียกว่า น้ำในดิน (soil water) ในฤดูแล้งน้ำในดินอาจถูกแดดเผาให้ระเหยแห้งไปได้ น้ำที่เหลืออยู่ในดินจะไหลซึมลงต่อไปอีก สุดท้ายจะไปถูกกักเก็บไว้อยู่ตามช่องว่างระหว่างตะกอนหรือตามรอยแตกและรอย แยกที่อยู่ต่อเนื่องกันของหิน ชั้นหิน ชั้นตะกอนหรือชั้นกรวด จนกระทั่งหิน ชั้นหิน ชั้นตะกอนหรือชั้นกรวดดังกล่าวอิ่มตัวด้วยน้ำหรือมีน้ำบรรจุอยู่เต็มช่อง ว่างนั้น ๆ น้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในเขตอิ่มน้ำนี้เรียกว่า น้ำบาดาล (ground water) ระดับบนสุดของน้ำบาดาลจะเป็นระดับน้ำใต้ดิน (water table) ซึ่งจะเป็นพื้นผิวหรือแนวระดับน้ำใต้ผิวดินที่อยู่ระหว่างเขตอิ่มน้ำกับเขต อิ่มอากาศ (บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้) ณ ระดับน้ำใต้ดินนี้แรงดันน้ำในชั้นหินหรือในชั้นตะกอนจะเท่ากับแรงดันของ บรรยากาศ และในตำแหน่งที่ลึกลงไปจากระดับน้ำใต้ดิน แรงดันของน้ำจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากน้ำหนักของน้ำที่กดทับอยู่ ระดับน้ำใต้ดินนี้จะเปลี่ยนแปลงขึ้นลงไปตามฤดูกาล โดยในฤดูแล้งระดับน้ำใต้ดินจะอยู่ลึกกว่าระดับปกติ ระดับน้ำใต้ดินส่วนใหญ่จะเอียงเทหรือวางตัวสอดคล้องไปตามลักษณะภูมิประเทศ และจะไปบรรจบกับระดับน้ำในแม่น้ำหรือทะเลสาบ

น้ำผิวดิน

 

น้ำใต้ผิวดินหรือน้ำใต้ดินหมายถึงน้ำจืดที่ขังอยู่ในช่องว่างของดินหรือหิน และยังหมายถึงน้ำที่ไหลอยู่ภายในชั้นหินอุ้มน้ำ หรือชั้นน้ำ (Aquifer) ซึ่งอยู่ตำกว่าระดับน้ำใต้ดิน (water table) ในบางครั้งก็มีประโยชน์ที่จะแยกให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง น้ำใต้ผิวดินที่อยู่ใกล้และสัมพันธ์กับน้ำผิวดิน กับ น้ำผิวดินที่สัมพันธ์กับน้ำใต้ผิวดินที่อยู่ลึกมากในชั้นหินอุ้มน้ำ บางครั้งก็เรียกน้ำชนิดนี้ว่า "น้ำซากดึกดำบรรพ์"  (Fossil water)

น้ำใต้ผิวดินอาจคิดเชิงคำศัพท์เห้หมือนน้ำผิวดินก็ได้ นั่นคือ การรับเข้า (inputs) การปล่อยออก (outputs) และการเก็บกัก (storage) นัยสำคัญของความแตกต่างก็คือ: ในแง่ของน้ำใต้ผิวดิน ที่เก็บกักมักมีขนาดใหญ่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการรับเข้า ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำผิวดินที่มีขนาดเก็บกักเล็กแต่มีขนาดการรับเข้ามากกว่า ข้อแตกต่างนี้เองที่ทำให้มนุษย์สามารถใช้น้ำใต้ดินได้มากมาย (แบบไม่ยั่งยืน) ได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกถึงผลกระทบที่รุนแรง แต่ถึงกระนั้น ในระยะยาว ในที่สุดอัตราเฉลี่ยของการซึมซับของแหล่งน้ำผิวดินที่ไหลลงใต้ดิน ย่อมจะต้องช้ากว่าอัตราการสูบออกไปใช้โดยมนุษย์

น้ำประปา

น้ำประปา หรือ น้ำก๊อก คือ น้ำที่ไหลออกมาจากก๊อกน้ำ เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นในปัจจุบัน น้ำประปาผลิตมาจากน้ำดิบ สูบเข้าไปยังถังพักตกตะกอน และผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อโรค จากนั้นจึงเพิ่มแรงดันและส่งไปยังท่อน้ำต่างๆในบ้านของผู้ใช้น้ำ

ก่อกำเนิดประปาในประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง มีพระราชดำริว่า กรุงเทพฯ น่าจะมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและใช้ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2440 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลขึ้น และจัดตั้งกรมสุขาภิบาลด้วย และได้ว่าจ้างช่างผู้ชำนาญการประปาจากฝรั่งเศส ชื่อ นายเดอลาม โฮเตียร์ และ นายแวนเดอไฮเดมาวางแผนการผลิตน้ำประปาซึ่งเขาได้เสนอความคิดหลายแนวทาง เช่น ควรนำน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยามาทำน้ำประปา เพราะสะดวกและไม่ต้องลงทุนมาก ความคิดของทั้งสองคนนี้มีข้อขัดแย้งกันหลายอย่าง ต้องพิจารณากันกลายครั้ง ในที่สุด กระทรวงเกษตราธิการ ที่มีหน้าที่จัดการทดน้ำเพื่อการเพาะปลูก ก็เห็นชอบให้แมื่อน้ำจากแม่น้ำมาผลิต มีการผลิตน้ำสะอาดขึ้นแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียก Water Supply ว่า “ ปรฺปา “ จากคำภาษาสันสกฤต (หรือ ปฺปา ในภาษาบาลี)